ทัชมาฮัล : เป็นอนุสาวรีย์แห่งความรักที่ยิ่งใหญ่ของโลก เพราะที่นี่เป็นสุสานฝังศพของ มุมทัชมาฮัล ราชินีผู้ป็นที่รักยิ่งของ พระเจ้าชาห์เยฮัน อยู่ในเมืองอัคระ บนฝั่งแม่น้ำยมนา ประเทศอินเดีย มุมทัชมาฮาล เป็นมเหสีที่พระเจ้าชาห์เยฮันรักมากที่สุด พระนางสิ้นพระชนม์เพราะคลอดโอรสองค์ที่ 15 ซึ่งทำให้พระเจ้าชาห์เยฮัน เศร้าโศกมาก พระองค์จึงสร้างที่ฝังศพที่หญ่โตที่สุดในโลกขึ้นที่ริมแม่น้ำยมนา สร้างระหว่างปี พ.ศ. 2173-2191 เสียเวลาสร้างอยู่ 23 ปี ทกส่วนสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวนวลบริสุทธิ์ ตามแบบสถาปัตยกรรมเปอร์เซีย โดยสถาปนิก อุสตาด ไอสา (Ustad lsa) มีผู้ร่วมสร้างเป็น ผู้ออกแบบ ช่างเขียนลวดลาย ช่างอิฐ ช่างปูน ช่างประดับลวดลายด้วยกระเบื้อง ช่างแกะสลัก ช่างตกแต่งภายใน รวม 20,000 คน วัตถุในการก่อสร้าง คือ หินอ่อนสีขาวจากเมืองมะครานา หินอ่อนสีแดงจากเมืองฟาตีบุระ หินอ่อนสีเหลือง จากฝั่งแม่น้ำนรภัทฑ์ เพชรตาแมวจากกรุงแบกแดด ปะการัง และ หอยมุกจากมหาสมุทรอินเดีย หินเจียรไนสีฟ้าจากเกาะลังขะ เพชรจากเมืองบนทลขัณฑ์ สิ้นเงินค่าก่อสร้างประมาณ 1,000,000,000 บาท ซึ่งได้รับคำรับรองจากสถาปนิกทั่วโลกว่าสร้างขึ้นโดยถูกสัดส่วน และ วิจิตรงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 39 เมตร ตรงกลางมีโดมสูง 60 เมตร มีโดมเล็กๆ เป็นหสูงอยู่ทั้ง 4 มุม ภายในประดับด้วย หินอ่อนสลักฉลุเป็นลวดลายวิจิตรตระการตาแทรกเสริมด้วย พลอยสี ทับทิม และนิล ตรงกลางภายใต้หลังคาโดมใหญ่มีแท่นวางหีบศพที่ทำด้วยหินอ่อน และมีฉากหินอ่อนฉลุลายงามเป็นพิเศษกั้นอีกชั้นหนึ่ง แต่ศพจริงๆ ไม่ได้บรรจุอยู่ในหีบ หากฝังอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินตรงกับที่วางหีบศพนั้น ภายหลังที่สร้างทัชมาฮัล ซาร์เจฮันใฝ่ฝันที่จะสร้าง ที่ฝังศพตัวเองที่ฝั่งแม่น้ำตรงกันข้ามจะเป็นหินอ่อนสีดำล้วนๆ แต่ลูกชายเกรงเงินจะหมดจะไม่มีใช้ เมื่อขึ้นครองราชสมบัติจึงจับพ่อขังอยู่ได้ 7 ปี ก็สิ้นพระชนม์ ประมาณปี พ.ศ.2209 แล้วเอาศพไปฝังข้างศพแม่ ส่วนนายช่างผู้ออกแบบถูกสั่งให้ประหาร ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้มีโอกาสออกแบบสิ่งก่อสร้างใด ๆ ที่สวยกว่าได้ ทัชมาฮัลเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าสร้างขึ้นมาได้อย่างเหมาะสมสวยงามน่ามหัศจรรย์