สำหรับปัญหายาเสพติดในกลุ่มประเทศอาเซียนอาจแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ ประเทศที่มีสถานะเป็นผู้ผลิตได้แก่ พม่า หรือเมียนมาร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตฝิ่น เฮโรอีน ยาบ้าและยาไอซ์ ประเทศที่มีสถานะเป็นทางผ่านหรือเส้นทางลำเลียงจากแหล่งผลิตไปยังประเทศอื่นๆ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย และประเทศที่มีสถานะเป็นผู้บริโภคหรือแหล่งแพร่ระบาดยาเสพติด เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซียและเวียดนาม”
เห็นได้ชัดว่าการเปิดประเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การแพร่ระบาดของยาเสพติดในหมู่สมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศยิ่งทวีความ รุนแรงขึ้น โดยจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเคลื่อนย้ายของประชากรและนักท่องเที่ยว
“เมื่อพิจารณาจากสถิติการจับกุมผู้ต้องหาชาวต่างชาติในคดียาเสพติดปี 2551-2555 พบว่า มีกลุ่มคนในประเทศอาเซียนถูกจับกุมในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสัญชาติที่ถูกจับคดียาเสพติดมากที่สุดคือ ลาว รองลงไปเป็นเมียนมาร์ กัมพูชา และมาเลเซีย ส่วนสัญชาติที่ไม่มีการจับกุมคดียาเสพติดในประเทศไทยเลยคือบรูไน ส่วนชนิดยาเสพติดมียาบ้า ยาไอซ์ เฮโรอีนและกัญชา”
“สำหรับพื้นที่จังหวัดที่มีการจับกุมผู้ต้องหาชาวต่างชาติในกลุ่มประเทศอาเซียนจากมากไปหาน้อยได้แก่ กรุงเทพมหานคร อุบลราชธานี ระนอง มุกดาหาร สงขลา ตาก หนองคาย เชียงใหม่ นราธิวาส สระแก้ว สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี เลย นครพนม เชียงราย ชลบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน พื้นที่เมืองใหญ่ พื้นที่ตลาดแรงงานและพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว”
เลขาธิการ ป.ป.ส.แจงรายละเอียดกับทีมข่าวอาชญากรรม
“ผู้ต้องหาส่วนใหญ่ถูกจับกุมในข้อหาเสพร้อยละ 30.1 ครอบครอง ร้อยละ 27.1 และครอบครองเพื่อจำหน่ายร้อยละ 27 แต่พิจารณาในข้อสำคัญพบว่า ข้อหาผลิตจะเป็นผู้ต้องหาชาวสิงคโปร์และเมียนมาร์ ข้อหานำเข้าจะเป็นผู้ต้องหาชาวฟิลิปปินส์ ลาว เวียดนาม ส่งออกจะเป็นผู้ต้องหาชาวสิงคโปร์และฟิลิปปินส์ ซึ่งคาดว่าในปี 2558 จะมีคนอาเซียนเดินทางเข้าประเทศไทยมากถึง 12,800,000 คน และจะมีคนในกลุ่มอาเซียนเข้ามากระทำผิดในคดียาเสพติดเพิ่มขึ้นด้วย”